SUP-D



อัปเดตค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการประมูลทรัพย์สินกรมบังคับคดี
  อีกเรื่องที่อยากอธิบายเพิ่มเติมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับขั้นตอนหลังการประมูลทรัพย์สินกรมบังคับคดีด้วยเช่นกัน นั่นคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประมูลที่ชนะการประมูลและเตรียมซื้อทรัพย์กรมบังคับคดีนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้านกรมบังคับคดี ซื้อที่ดินจากกรมบังคับคดี และสินทรัพย์อื่น โดยจะขอแบ่งรายละเอียดด้านค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออกตามหน่วยงานที่ต้องชำระ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

เช็กลิสต์ค่าใช้จ่ายในการประมูลทรัพย์สินกรมบังคับคดี

1. ค่าใช้จ่ายกับสำนักงานบังคับคดี

 - เงินหลักประกันในการประมูล เป็นเงินที่ผู้ประมูลต้องนำมาวางเพื่อใช้เป็นหลักประกันซึ่งจำนวนเงินขึ้นอยู่กับมูลค่าสินทรัพย์ที่ประมูล

 - เงินส่วนต่างเพิ่มเติมสำหรับใช้ชำระหลังการประมูลทรัพย์สินกรมบังคับคดีนั้น ๆ สำเร็จ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประมูลว่าจะนำเงินมาจากส่วนใด เช่น เงินกู้สินเชื่อสถาบันการเงิน เงินออมของตนเอง อย่างไรก็ตามกรณีเป็นสินเชื่อแนะนำให้ดำเนินการก่อนประมูลเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาช้าเกินกำหนด

 - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขายสินทรัพย์ (ราคาที่ประมูลชนะ)

2. ค่าใช้จ่ายกับสำนักงานที่ดิน

 - ค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2% ของราคาประเมินที่ดิน

 - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการคำนวณจากราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน หักกับ ค่าใช้จ่ายที่ทางกรรมสรรพากรได้กำหนดเอาไว้ จากนั้นจึงเข้าสู่การคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับการยกเว้น 150,000 บาทแรก และเสียตามขั้นบันไดตามมูลค่าที่เหลือ

 - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายจริง หรือราคาที่ถูกประเมินจากสำนักงานที่ดิน (จะมีการใช้ราคาที่สูงกว่า)

 - ค่าจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท อย่างไรก็ตามกรณีเป็นสินทรัพย์ประเภทห้องชุดจะไม่มีการกำหนดเพดานขั้นสูงสุด จ่ายตามจริงทั้งหมด (หากกู้เงินจากสถาบันการเงิน)

  ปล. กรณีต้องมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถนำใบเสร็จรับเงินจากกรมที่ดินไปดำเนินการขอคืนค่าอากรแสตมป์ 0.5% ได้ แต่ต้องทำเรื่องภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อได้รับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์จากกรมบังคับคดี กรณีดำเนินการล่าช้าเกินกว่า 7 วัน ผู้ชนะประมูลต้องไปยื่นเรื่องด้วยตนเองกับกรมสรรพากรเพื่อขอคืนเงิน

3. ค่าใช้จ่ายสถาบันการเงิน
หากว่ากันตามหลักความจริงคนส่วนใหญ่ที่ซื้อบ้านกรมบังคับคดี หรือซื้อทรัพย์สินกรมบังคดีรายการอื่น ๆ ที่เป็นเงินก้อนใหญ่มักกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นหลัก โดยต้องมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

 - ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์สิน (สถาบันการเงินเป็นผู้ประกาศ)

 - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของวงเงินสินเชื่อ ไม่เกิน 10,000 บาท

 - ค่าประกันอัคคีภัย (กรณีเป็นที่อยู่อาศัย)

  ทั้งหมดนี้คือค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่จะต้องเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ชนะการประมูลทรัพย์สินกรมบังคับคดี ผู้ที่สนใจซื้อบ้านกรมบังคับคดี ซื้อที่ดินจากกรมบังคับคดี หรือซื้อทรัพย์กรมบังคับคดีรายการใดก็ตามต้องรู้เอาไว้เพื่อวางแผนด้านการเงินของตนเองให้เหมาะสม ส่วนใครกำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อประมูล “SUP-D” ยินดีเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ เว็บเดียวครบ จบทุกความต้องการแน่นอน


img

ติดต่อสอบถาม

ทรัพย์ดี

Copyright © 2024 Sup-D